โบรคเกอร์ forex หลายโบรคเกอร์ ได้โฆษณาว่าฟรีค่าคอมมิสชัน (Commission) แต่จริงๆ แล้วมันเป็นยังไง? อันที่จริงการเทรด forex นั้นต้องเสียค่าใช้จ่าย (จะเรียกว่าค่าคอมมิสชัน หรือไม่ก็ตาม) ถือว่าสูงมาก เมื่อเทียบกับการซื้อขายหุ้น หรือกองทุนในบ้านเราซึ่งมีค่าคอมมิสชันจะอยู่ที่ประมาณ 0.2% ของมูลค่าที่ทำการเทรด ดังนั้นการที่โบรคเกอร์ forex ส่วนใหญ่ ทำการตลาดโดยอ้างว่า ฟรีค่าคอมมิสชัน ที่จริงแล้วมันไม่จริงทั้งหมด และอาจทำให้เข้าใจผิดได้ ในตลาด forex นั้น คล้าย กับตลาดอื่น ๆ นั้นคือมีการตั้งซื้อ (Bid) และตั้งขาย (Ask) ราคาตั้งซื้อคือราคาที่เราสามารถขายได้ในขณะนั้น ส่วนราคาตั้งขายก็คือราคาที่เราสามารถซื้อได้ในขณะนั้น ผลต่าง ระหว่างราคาตั้งซื้อ และตั้งขาย นั้นเรียกว่า Spread ยกตัวอย่าง EUR/USD ราคา Bid ที่1.4156 และ Ask ที่ 1.4159 ดังนั้นค่า Spread ของ EUR/USD จะเท่ากับ 0.0003 หรือ 3 PIPS ถ้าเราทำการเปิด Order ทำการซื้อขณะนั้น เราจะซื้อได้ที่ 1.4159 และ Transaction ของเราจะขึ้นเป็น -3 PIPS ทันที ถ้าเราปิดออร์เดอร์ขณะนั้นโดยอัตราแลกเปลี่ยนยังไม่เปลี่ยนแปลงเราจะขายได้ที่ 1.4156 และขาดทุนทันที 0.0003 หรือ 3 PIPS จะเห็นได้ว่า ถ้ายิ่ง Spread กว้างมาก เราก็จะต้องจ่ายส่วนต่างนี้มากขึ้นไปด้วย ส่วนต่างตรงนี้เองที่ส่วนหนึ่งเป็นรายได้ของโบรคเกอร์ และเรา หรือผู้เทรดจำเป็นจะต้องจ่ายทุกครั้งที่เปิด Order ทำการเทรด บางคนอาจจะเห็นว่า เสียแค่ 0.0003 จากราคาประมาณ 1.4 นั้นไม่เท่าไหร่เองหนิ ถ้าคิดเป็นเปอร์เซ็นก็แค่ประมาณ 0.03% เอง แต่อย่าลืมนะครับว่าการเทรด Forex นั้นมีระบบ Leverage ถ้า Leverage ที่ 1:100 นั้นก็เสมือนว่าเราส่งคำสั่งซื้อด้วยเงินทุน 100 เท่าจากเงินทุนจริงของเรา ดังนั้นถ้าเทียบกับเงินทุนจริงของเรา มันจะไม่ใช่ 0.03% แต่มันจะเป็น 3% นั้นเอง หรือถ้าเทรดในระบบLeverage 1:500 จำนวนเงินตรงนี้ก็จะยิ่งสูงขึ้นไปอีกเป็น 15% ของเงินทุนจริงของเรา ที่นี้จะเห็นเลยใช่ไหม๊ครับ ว่ามันแพงหูฉี่เลยทีเดียว โบรคเกอร์แต่ละที่จะมีค่า Spread ที่แตกต่างกันไป รวมไปถึง คู่อัตราแลกเปลียน แต่ละคู่ก็อาจมี Spread ที่แตกต่างกันด้วย หรือแม้กระทั้งคู่สกุลเงินคู่เดียวกัน แต่คนละช่วงเวลา บางโบรคเกอร์ค่า Spread ก็สามารถขึ้นลง และไม่ Fix ด้วยเช่นกัน ดังนั้นก่อนเปิดใช้บริการของโบรคเกอร์ ควรตรวจสอบค่า Spread ของโบรคเกอร์นั้นๆ ให้ดีก่อนนะครับ รวมไปถึงระบบ Spread ของโบรคเกอร์นั้น ๆ ว่าเป็นแบบ Fix คงที่ หรือเปลี่ยนแปลงได้ ในกรณีที่ใช้บริการของโบรคเกอร์ที่ไม่ Fix ค่า Spread ก่อนทำการเทรดทุกครั้ง ต้องตรวจสอบค่า Spread ในขณะนั้นก่อนส่งคำสั่ง ซื้อ ขาย ถ้ารีบร้อนเกิน กลัวไม่ได้ราคาที่เลงไว้ โดยไม่ได้ตรวจสอบ Spread ให้ดี เข้าเทรดไปแล้วอาจจะตกใจภายหลังได้ครับ จะเห็นได้ว่าการเลือกโบรคเกอร์ ค่า Spread ก็เป็นจุดสำคัญจุดหนึ่งที่สามารถลดค่าใช้จ่ายของเราได้ ถึงแม่มันจะน้อยเมื่อเทียบ กับราคาที่วิ่งขึ้น วิ่งลง ของอัตราแลกเปลี่ยน แต่ถ้าเราประหยัดตรงนี้ได้ แค่ 1-2% ต่อการเทรดแต่ละครั้ง แต่รวมๆ หลายๆ ครั้งก็ไม่ใช่จำนวนเงินน้อย ๆ เลยนะครับ Credit : Forex2pro.com |
วันศุกร์ที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2558
ค่าคอมมิสชัน ในการเทรด Forex
จำนวมผู้เยี่ยมชม
คลังบทความของบล็อก
ผู้ติดตาม
บทความที่ได้รับความนิยม
-
วันนี้ผมจะมาแชร์ประสบการณ์อันโหดร้ายในตลาดที่ผมได้เคยผ่านมา พูดได้เลยครับว่านี่คือประสบการณ์จริง กล้าที่จะบอกจริง ผมจะไม่โฆษณาแต่เรื่องดีๆ...
-
Moving Average คือเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ ที่คำนวณมาค่าราคาในอดีตที่ผ่านมา ซึ่งเราสามารถกำหนดค่าได้ตามต้องการ ผมขอเรียกสั้นๆว่า เส้น MA นะ...
-
สำหรับเทรดเดอร์ที่สนใจการเทรดแบบ Price Action นั้น การลาก Trend Line เป็นสิ่งที่จำเป็นต้องใช้ เพราะ Price Action ก็คือ การกระทำของราคาที...
-
คุณเคยได้ยินคำกล่าวนี้ไหม ความสำเร็จในตลาด Forex เกิดจาก 90% คือจิตวิทยาการลงทุน 10% คือวิธีหรือระบบที่ใช้ลงทุน วันนี้ผมจะมาพูดถึง 90%...
-
การวิเคราะห์แนวโน้มตลาดโดยวิธีเทรดแบบ PriceAction กราฟเปล่าๆสบายตา ในที่นี้ผมขอเขียนเรื่องการวิเคราะห์ตลาดแบบการ Follow Trend หรือการเล่นต...
-
สวัสดีครับ บทความนี้ผมจะมากล่าวถึงเรื่องของ Pattern กราฟสำคัญๆที่พบเห็นได้ทั่วไปในตลาดจริงๆ อาจจะอิงตำรามาบ้างครับ แต่ผมอยากจะเขียนให้เป็น...
-
Fibonacci เป็นชื่อเรียกเลขอนุกรมมหัศจรรย์ ที่ตั้งขึ้นตามผู้คิดค้นคือ LEONARDS FIBONACCI ซึ่งสังเกตเห็นว่า ธรรมชาติมีสัดส่วนสัมพันธ์กับตัว...
-
ไม่ขออธิบายให้ยืดยาวนะครับ อธิบายด้วยภาพด้านล่าง คุณเป็นคนที่อยู่ฝั่งไหน ถ้าคุณเป็นคนส่วนใหญ่คุณจะมีแต่ขาดทุน เพราะคนส่วนใหญ่ในตลาดนี้พูดกัน...